personal-pic2

โรงพยาบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้บริการทางการแพทย์ ตามนโยบายคุณภาพที่ว่า “องค์รวม  ซื่อสัตย์ ถูกต้อง ว่องไว ประทับใจผู้ใช้บริการ” ซึ่งสะท้อนถึงจริยธรรมของทั้งองค์กร  และแต่ละวิชาชีพที่ให้บริการผู้ป่วย  ซึ่งต้องให้บริการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจริยธรรมอย่างทันท่วงที  เพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด อันส่งผลถึงความประทับใจของผู้รับบริการ

การให้บริการการรักษาพยาบาลเป็นงานโดยตรงของโรงพยาบาล  จึงได้กำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วย เพื่อเสริมและควบคุมการบริการให้มีคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ารับการรักษาจนถูกจำหน่าย ( Discharge) ออกจากโรงพยาบาลและคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย  โดยให้บริการในด้าน

 
  • บริการด้านรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยใน (IPD) ทันตกรรม
  • บริการตรวจสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตามลักษณะงานออกให้
สิทธิผู้ป่วย

เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยไว้ดังต่อไปนี้

 
  • ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และ ลักษณะของความเจ็บป่วย
  • ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการ ยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือ จำเป็น
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย ทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้อง ขอความช่วยเหลือหรือไม่
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริ การแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานบริการได้
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย 
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
  • ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ ปรากฏใน เวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
  • บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
คำถามที่พบบ่อย

1. อยากทราบว่าโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์มีโปรแกรมหรือแพคเกจราคาพิเศษใดบ้าง
ตอบ  โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ มีโปรแกรมเหมาจ่ายและโปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ใช้บริการทุกท่านหลายแบบ ทั้งในเรื่องการรักษาโรค การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค  

2. โรงพยาบาลมีแพทย์รักษาโรคทุกสาขาหรือไม่
ตอบ โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์มีแพทย์รักษาโรคได้ทุกสาขา มีการออกตรวจหมุนเวียนกันไป

3. ต้องการตรวจสุขภาพมีโปรแกรมไหนแนะนำด้วยคะ (สำหรับผู้หญิงวัย34ปี)
ตอบ สำหรับผู้หญิงในวัย 30 ปีขึ้นไปควรค้นหาความเสี่ยงเกี่ยวมะเร็งปากมดลูก หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายได้ ทุกทุกปีต้องตรวจ ปีละครั้งค่ะ

สอบถามรายละเอียดได้ที่  We care  โทรศัพท์  02-361-1111